ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสดาหรือผู้ตั้งศาสนาพราหมณ์ฮินดูคือพระนารายณ์ซึ่งคนส่วนมากเรียกกันว่าพระวิษณุแต่ เดิมพระวิษณุได้สอนธรรมะ และวิธีปฏิบัติธรรมแก่พระพรหมธาดาแล้วพระพรหมธาดาผู้ได้สอนสันตกุมาร ผู้เป็นบุตรอีกชั้นหนึ่ง ต่อมาทั้งสองท่านก็ได้สั่งสอนแก่พระนารถมุนีผู้เป็นเทพฤาษีเพื่อให้เผยแพร่ต่อไปยังนานาโลก
สำหรับในโลกมนุษย์พระอุปเทศกะคือผู้แสดงเรื่องราวทางศาสนารองลงมาจากพระนารถมุนีคือพระกปิลมุนีผู้เกิดมาเป็นมนุษย์มีตัวตนอยู่ในโลก ได้แสดงธรรมครั้งแรกที่วินทุอาศรมต่อมาได้ตั้งอาศรมขึ้นที่ปลายแม่น้ำคงคาที่เรียกว่ากันคงคาสาครดังนั้นในเดือนธันวาคมและมกราคมของทุกปีจะมีประชาชนจำนวนมากไปจาริกแสวงบุญ ณ ที่ดังกล่าว
พระปรมาตมันเป็นพระเจ้าสูงสุด มีอุปาสยเทพอยู่สามองค์คือ พระพรหมา พระวิษณุและพระศิวะ พระปรมาตมันไม่มีรูปและไม่มีตัวตน จึงกล่าววกันว่าเป็นนิรังการหรือนิรากาลคือไม่มีอาการ หรือปราศจากอาการ
ต่อมาเมื่อพระปรมาตมัน ประสงค์จะสร้างโลกก็เลยกลายเป็นสาการภาพคือเกิดภาวะอันมีอาการและเป็นสามรูป ได้แก่พระพรหมธาดา พระวิษณุและพระศิวะ
พระพรหมา เป็นผู้สร้างโลกต่างๆ
พระวิษณุ เป็นผู้คุ้มครองโลกต่าง ๆ
พระศิวะ เป็นผู้สังหารหรือทำลายโลกต่าง ๆ
เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ฮินดู มีอยู่เป็นจำนวนมาก เทพเจ้าแต่ละองค์ดูไม่ออกว่าองค์ไหนสำคัญกว่าหรือสูงกว่า แต่ละกลุ่มนับถือแต่ละองค์บางทีในครอบครัวเดียวกัน แต่ละคนในครอบครัวก็นับถือเทพเจ้าต่าง ๆ กันเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก
เมื่อพระปรมาตมัน ประสงค์จะมีโลกต่าง ๆก็จะแบ่งภาคเป็นสามภาคคือ พระพรหมา พระนารายณ์ และพระศิวะขณะเดียวกันพระแม่อาทิศักตี ก็แบ่งภาคเป็นสามองค์คือมหาสรัสวดี มหาลักษมีและมหากาลีหรืออุมาเทวี
ทั้งหกองค์แบ่งปางต่าง ๆ หรือสร้างเทพต่างๆ ขึ้นตามความต้องการเช่นพระโลกปาล๕ องค์พระทิศปาล๑๐ องค์พระเกษตรปาล (เจ้าที่เจ้าทาง) ๔๙ องค์นพเคราะห์๙ องค์เป็นต้น
คัมภีร์ปุราณต่าง ๆได้บัญญัติไว้ว่ามีเทวดาทั้งหมดสามร้อยสามสิบล้านองค์เพราะสิ่งของทุกชนิดมีเทวดาประจำด้วยทุกสิ่ง ในบ้านเรือนแต่ละส่วนของบ้านมีเทพประจำอยู่ มีเทพเจ้าแห่งน้ำคือพระวรุณหรือพระพิรุณ เทพเจ้าแห่งลมคือพระวายุเทพเทพเจ้าแห่งอัญมณีรัตน์คือพระกุเวรเทพเจ้าแห่งวิชาคือพระแม่สรัสวดีเทพเจ้าแห่งสมองคือพระพิฆเนศวรเป็นต้น
ยังมีปางของพระแม่อาทิศักตีและปางนี้ทำให้เห็นว่ามีเทวดานานานาม นานารูป มีเทวดาในรูปนามเพื่มขึ้นเรื่อย ๆไม่สิ้นสุด โดยมีหลักว่าบรรดาเทพเจ้าเหล่านั้น เป็นส่วนของพระปรมาตมันจึงถือกันว่ามีเอกภาพในพหุภาพคือ มีเทพเจ้าองค์เดียวในรูปร่างต่างๆ
คัมภีร์ คือ พระเวท ซึ่งมีความหมายกว้างขวางมากถ้าต้องการให้เข้าใจดีจะต้องศึกษาศาสตร์หกแขนงเรียกว่า วิชาหกประการ หรือเวทางคศาสตร์คือความรู้เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆที่ประกอบกันเป็นพระเวททั้งหกประการคือ ศึกษาศาสตร์ สอนการอ่านทำนองของพระเวท
- ศิลปศาสตร์ สอนว่าพระเวทหรือคำแต่ละคำของพระเวทและมนตร์ต่าง ๆ นั้นจะมีวิธีนำเอาไปใช้ที่ไหนและอย่างไร- ไวยากรณ์ศาสตร์ สอนว่าคำแต่ละคำของพระเวท พระมนตร์ อุบัติขึ้นมาอย่างไรและออกเสียงอย่างไร- นิรุกติศาสตร์ สอนเรื่องคำพูดหรือภาษาความเข้าใจในภาษา และการรู้จักใช้ถ้อยยคำให้ผู้อื่นเข้าใจการศึกษาถึงที่มาของคำว่าแต่ละคำ มีอะไรมาประกอบเข้ากันบ้าง
-ฉันทศาสตร์ หรือกาพย์ศาสตร์ สอนว่ามนตร์แต่ละมนตร์ของพระเวทอ่านทำนองอย่างไรและมีวิธีการประพันธ์แต่ละกาพย์ แต่ละฉันท์อย่างไรบ้าง-โชยติษศาสตร์ หรือนักษัตรศาสตร์ หรือโหราศาสตร์ หรือดาราศาสตร์สอนถึงคติการโคจรของดวงดาวทั้งหลาย รวมถึงอุตนิยมวิทยาด้วย
สัญลักษณ์ทางศาสนา สำคัญที่สุดคือตัวอักษรที่อ่านว่าโอมมาจาก อ + อุ + มะเป็นแทนพระตรีมูรตีเทพ คืออแทนพระนารายณ์หรือพระวิษณุ อุ แทนพระพรหมามแทนพระศิวะหรือพระอิศวร เมื่อรวมกันเข้าเป็นอักษรเดียวกลายเป็นอักษร โอม แทนพระปรมาตมันพระเจ้าสูงสุด ไม่มีตัวตนสัญลักษณ์นี้ทุกนิกาย ทุกลัทธิ ในศาสนาพราหมณ์ฮินดูต้องใช้เป็นประจำ
สัญลักษณ์รองลงมาคือเครื่องหมายสวัสดิกะ เป็นสัญลักษณ์ที่ทุกนิกาย ทุกลัทธิใช้กันมาก เป็นเครื่องหมายแทนพระพิฆเนศวรหรือพระคเณศ หมายถึงเป็นมงคลทุกด้าน ทุกมุมปราศจากอุปสรรคทั้งปวง
รองลงมามีเครื่องหมายสัญลักษณ์หลายอย่างซึ่งแต่ละนิกายและลัทธิ ใช้กันประจำนิกาย และลัทธิ เช่น นิกายไศวะ ใช้รูปตรีศูล นิกายไวษณพ ใช้รูปจักรเป็นต้น
ในประเทศไทย เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ใช้ทั้งตรีศูล และตัวอักษร โอม เป็นสัญลักษณ์นอกจากนี้ยังมีรูปดอกบัว สังข์ คฑา ช้าง โค พระอาทิตย์ นกยูง สิงโต งู คันไถและอื่น ๆ ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำนิกาย และประจำลัทธิด้วยแต่ต้องมีตัวโอมอยู่เสมอ
จุดมุ่งหมายของศาสนา เพื่อนำบุคคลไปสู่ความหลุดพ้น ทั้งจากกองกิเลส และกองทุกข์ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อหลุดพ้นไปแล้วก็จะกลายเป็นเอกภาพมีภาวะเป็นอันหนึ่งอันเดียวไปกับพระปรมาตมัน ภาวะดังกล่าวเรียกว่าโมกฺษคติไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
ในคัมภีร์ และตำราของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูได้บัญญัติการปฎิบัติระหว่างบุคคลไว้เป็นอันมาก เช่น ปิตฤธรรม คือการปฎิบัติหน้าที่ของบิดาต่อบุตร
มคฤธรรม คือการปฎิบัติหน้าที่ของมารดาต่อบุตร
อาจารยธรรม คือการปฎิบัติหน้าที่ของครูอาจารย์ต่อศิษย์
บุตรธรรม และศิษยธรรม คือการปฎิบัติหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา
ภราตฤธรรม คือการปฎิบัติของพี่ต่อน้อง
ปติธรรม คือการปฎิบัติหน้าที่ของสามีต่อภรรยา
ปัตนีธรรม คือการปฎิบัติหน้าที่ของภรรยาต่อสามี
สวามี - เสวกธรรม คือการปฎิบัติหน้าที่ของสวามี (นายจ้าง) ต่อเสวก (ลูกจ้าง)
ราชธรรม คือการปฎิบัติหน้าที่ของพระราชาต่อประชาชน กับปฎิบัติหน้าที่ของประชาชนต่อพระราชา
มานวธรรม มีการสั่งสอนไว้หลายประการด้วยกัน เช่น
- หากเกิดมาเป็นมนุษย์ จงปฎิบัติแต่ทางกุศล
- บุคคลที่ได้กระทำโดยการพูด โดยกาย โดยใจ แล้วผลแห่งการกระทำนั้นก็จักอำนวยให้แก่บุคคลนั้น เป็นอุดมคติจึงจงทำแต่ดีตลอด
- คิดแต่ทรัพยสมบัติของผู้อื่นคิดแต่ทำเสียประโยชน์ของผู้อื่น ไม่ยอมนับถือผู้ใหญ่ เป็นโทษทางจิตใจจงอย่าทำ
- ก่อนจะลงมือกระทำใด ๆ จงพิจารณาดูว่าขัดกับธรรมเนียมประเพณีของประเทศชาติหรือขัดแย้งกับขนบธรรมเนียมของตระกูลตนเอง หรือของสังคมที่ตนสังกัดอยู่หรือไม่ หากไม่ขัดแล้วจึงลงมือทำ
- บุคคลใดไม่ซื่อตรงต่อมิตร ไม่รู้จักบุญคุณ หักหลังผู้อื่นต้องไปตกนรก
- บุคคลใดที่เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ เพื่อธรรมบุคคลนั้นจะไปสุคติสูงสุดโดยผ่านสุริยจักรวาลไป
- ในโลกนี้ ใครมาแย่งที่ดิน (ประเทศชาติ) ของเรา ซึ่งปู่ย่าและบิดามารดาได้รักษาไว้ผู้นั้นจะเป็นศัตรูที่หนึ่งของเรา ขอให้ทำลายผู้นั้นเสียไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นญาติมิตรก็ตาม
- พระราชาเป็นญาติของผู้ที่ไม่มีญาติ เป็นตาของผู้ที่ไม่มีความสว่างในดวงตาเป็นบิดาและมารดาของประะชาชน ที่เดินบนทางยุติธรรม
- ทรัพยสมบัติเงินทองมีคติ ๓ ประการ คือ จ่ายออกโดยจัดทานในกุศลธรรมต่าง ๆจ่ายออกเพื่อหาเครื่องอุปโภคบริโภค หากไม่จัดทำทั้งสองประการนี้แล้วก็ถูกวินาศไป
- จงฟังสาระสำคัญธรรม คือสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ สิ่งนั้นอย่าอำนวยให้แก่ผู้อื่น การกระทำของผู้อื่นประการใดที่เราไม่ชอบ อย่ากระทำการนั้นต่อผู้อื่นสารธรรมนี้จงถือไว้ตลอดไป ก็มีแต่ความสุขสันต์เป็นนิตย์
หลักคำสอนทางศาสนา
๑. จงพูดแต่ความสัตย์
๒.จงกระทำปฎิบัติแต่ทางธรรม
๓.อย่าประมาทในการอ่านหนังสือธรรม จงพยายามหาเวลาอ่านหนังสือเกี่ยวกับธรรมพอสมควรให้เป็นนิตย์
๔.จงเอาจตุปัจจัยถวายแก่ครูอาจารย์แล้วตนเองก็เข้าสู่เพศฆราวาสอย่าทำให้วงศ์ตระกูลต้องขาดสาย จงปฎิบัติหน้าที่ของตนให้เหมาะสมกับสามีที่ดีซื่อสัตย์ต่อภรรยา และบิดาที่ดีต่อบุตร
๕.จงอย่าประมาทในการพูดความสัจ
๖.จงอย่าประมาทในการกระทำ จงพยายามทำกุศลกรรม
๗.จงอย่าประมาทในการปฎิบัติธรรม
๘.อย่าประมาทในการทำให้มีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ
๙. อย่าประมาทในการค้นหาความรู้ทางธรรม และในการเผยแพร่ธรรม โดยการอ่านตำรา ๆและปาฐกถา
๑๐.จงอย่าประมาทในการบูชาสักการะเทพเจ้า เทวดา และบรรพบุรุษของตน
๑๑. จงถือว่ามารดาเป็นเสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง
๑๒.จงถือว่าบิดาเป็นเสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง
๑๓.จงถือว่าครูอาจารย์เสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง
๑๔. ถือว่าแขกที่มาสู่บ้านโดยบังเอิญ เป็นเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง
๑๕. จงกระทำในสิ่งที่ดีที่ไม่เป็นที่ติดฉินนินทา นอกจากนี้ยังต้องปฎิบัติตามและยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณีแต่โบราณด้วย
๑๖.บรรพบุรุษได้สร้างทางแห่งความสุจริตไว้ จงเดินบนทางนั้น
๑๗. จงฟังและเคารพบุคคลที่มีวัยวุฒิและคุณวุฒิ
๑๘.สิ่งที่จะมอบให้ผู้อื่น จงให้ด้วยความศรัทธา ด้วยความเต็มใจและดีใจ ด้วยความรักและความอ่อนหวาน อย่าให้ด้วยความไม่ศรัทธา ด้วยความกลัวหรือการถูกบังคับ
๑๙. จงไปหาผู้อาวุโสหรือผู้ปฎิบัติธรรม เมื่อสงสัยในข้อปฎิบัติว่าถูกต้องหรือไม่เพื่อให้ท่านเหล่านั้นขจัดข้อข้องใจให้
๒๐.สิ่งเหล่านี้เป็นคำสั่ง เป็นคำสั่งสอนจากพระเวท และอุปนิษัท เป็นคำสั่งสอนของครูจึงควรปฎิบัติตาม
การปฏิบัติประจำวันทางศาสนา คือทำบูชาห้าประการหรือการกระทำพิธียัญญะห้าประเภท
พรหมยัญญะ ได้แก่การตั้งจินตนาการถึงเฉพาะแต่พระปรมาตมันและอาตมา โดยตั้งสมาธิทางลัทธิโยคะหรือกระทำพิธีบูชาตามยคำสั่งสอนของคัมภีร์พระเวทหรือมิฉะนั้นก็ทำการศึกษาพระธรรมให้แตกฉานยิ่งขึ้นผู้บรรลุพรหมยัญญะจะสามารถบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่คนทั้งปวงได้ด้วยใจบริสุทธิ์โดยมิได้เลือกหน้า
พรหมยัญญะ กระทำสามเวลาตอนเช้าระหว่าง ๐๔.๐๐ น. ถึง ๐๘.๐๐ น. ตอนกลางวันระหว่าง ๑๑.๓๐ น. ถึง ๑๓.๐๐ น.ตอนเย็นระหว่าง ๑๗.๑๕ น. ถึง ๒๐.๐๐ น.ตอนเช้าตื่นขึ้นมาแล้วชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ก่อนเข้าพิธีใช้คาถาพระคายตรีอ่านในใจและจินตนาการ พระรูปกายตรีปางทรงพรหมา ไปพร้อมกันกลางวันอ่านคาถาพระกายตรีและจินตนาการพระแม่กายตรีปางพระนารายณ์ตอนเย็นอ่านคาถาพระกายตรีและจินตนาการรูปพระแม่กายตรีปางพระศิวะ
การอ่านพระคาถากายตรีต้องอ่านหนึ่งพันครั้งในแต่ละเวลา หากปฎิบัติได้ ๑๒ ปีก็จะมีบารมีสูงขึ้นในร่างกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองเป็นพิเศษ หากไม่สามารถปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ก็ต้องอ่านหนึ่งร้อยแปดครั้งในแต่ละเวลาถ้าเห็นว่ายังทำไม่ได้อีกก็อ่านเพียงสองเวลาเช้า เย็น
เทวยัญญะ ได้แก่การทำพิธีบูชาไฟชนิดที่เรียกว่าการหวนหมายถึงการเวียนกลับหรือหมุนเวียนกลับ ในการบูชาไฟย่อมมีสิ่งของต่างๆ เช่น เนยงาดำ ธูป ผง ไม้จันทน์ กำยาน ฯลฯ ของเหล่านี้เมื่อนำมาเผาก็ทำให้เกิดควันควันเหล่านี้ก็จะกลายมาเป็นเมฆ เมฆกลายเป็นฝน
ปิตฤ ยัญญะได้แก่การสักการะบูชาบรรพบุรุษ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ และล่วงลับไปแล้วมีสี่ประเภทด้วยกันคือ
- บิดามารดา น้า อา ป้า ลุงที่เป็นบรรพบุรุษสายเลือดแห่งตระกูล ที่ยังมีชีวิตอยู่
- ครู อาจารย์ ผู้สอนศาสนา ตลอดจนผู้เขียนหนังสือธรรมะนักบวช พระเจ้าแผ่นดินที่ยังมีชีวิตอยู่
- สิ่งที่มีประโยชน์แก่มนุษย์ชาติโดยธรรมชาติเช่น มาตุภูมิ ดิน น้ำ ลม ไฟ พระอาทิตย์พระจันทร์ ฯลฯ
- บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
มนุษยยัญญะได้แก่การรู้จักต้อนรับแขก และการปฏิบัติในทางที่ดีต่ออาคันตุกะ ผู้มาเยี่ยมเยียนรวมถึงการกระทำเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์
ศาสนาพรหมณ์ฮินดูไม่ปล่อยให้เป็นภาระของเทพเจ้า เป็นที่พึ่งฝ่ายเดียว แต่ยังอาศัยกรรมของตนฉะนั้นคัมภีร์พระเวทจึงได้สอนไว้ว่า มนุษย์ทั้งหลายควรปฎิบัติตามคติสี่ประการคือธรรมะ อรรถะ กามะ และโมกษะ
-อรรถ แปลว่า ทรัพย์สมบัติหรือสิ่งของที่ต้องการ
-กาม แปลว่า ความปรารถนา ความประสงค์ ความต้องการ การอุปโภค บริโภค สิ่งต่าง ๆ ก็จัดเป็นกามเหมือนกัน
-มนุษย์ เมื่อสำเร็จโมกษธรรมแล้วยังไม่ควรจะละเลิก อรรถะ กับกามะ โดยสิ้นเชิง
บรรดาพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเบียดเบียนชีวิตมนุษย์ และสัตว์ที่เรียกว่ายัญกรรมนั้นคณาจารย์พราหมณ์ในพระราชอาณาจักรไทยได้เลิกไปหมดสิ้นเพราะขัดกับพื้นฐานของสังคมชาวพุทธ คงเหลือแต่การประกอบพิธีสาธยายพระเวท สร้างมงคลล้างอัปมงคล ดำเนินงานทางศาสนาคู่ไปกับพระพุทธศาสนาอีกทั้งคณาจารย์พราหมณ์ได้เป็นอุบาสก ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เจริญรอยตามพระยุคลบาทพระมหากษัตริย์แห่งพระราชอาณาจักรไทยมาตั้งแต่โบราณกาลด้วยเหตุนี้จึงเกิดมีคำว่าพุทธกับไสย อิงอาศัยกันปัจจุบันมีพิธีกรรมพราหมณ์บางอย่างก็มีพุทธเจือปนเช่นมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ท้ายพระราชพิธีตรียัมปวาย ตรีปาวาย เป็นต้นเรื่องของพุทธก็มีพราหมณ์แทรกเช่น การเดินประทักษิณรอบวัตถุสถานมงคลการจุมเจิมลูกนิมิตร การรดน้ำสังข์ให้เจ้านาค การเบิกพระเนตรพระพุทธปฏิมาเป็นต้น